หิ่งห้อยในสวนคณิตศาสตร์
หิ่งห้อยในสวนคณิตศาสตร์
เนื่องจากในปัจจุบันมีการปล่อยคอนโดและห้องเช่าต่างๆที่มีพื้นที่น้อย และไม่สามารถปลูกสวนดอกไม้หรือสวนต่างๆได้
จึงต้องมีการคิดค้นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการจัดสวนขนาดเล็ก
เพื่อให้ความรู้สึกรีแลกซ์ และให้ความรู้สึกเหมือนเราอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งในตอนแรกจะพัฒนาเป็นแค่สวนขวดโหล
แต่พบว่ายังไม่เพียงพอ จึงคิดขึ้นมาว่าถ้ามีสูตรคณิตศาสตร์ หรือมีใบความรู้ต่างๆที่ห้อยอยู่ด้านล่างของสวนขวดโหล
จะช่วยให้ทั้งได้รับบรรยากาศดีๆจากสวนขวดโหล และยังช่วยให้เราทบทวนสูตรต่างๆในใบความรู้
เพราะเหตุนี้จึงได้เพิ่มใบความรู้ไว้ และใช้เชือกผูกห้อยไว้ด้านล่างของโหล
โครงงานที่พัฒนาชิ้นนี้จะช่วยให้เราลดความตึงเครียด
เพราะในปัจจุบันการได้เห็นสวนดอกไม้เป็นเรื่องที่ยากพอสมควร
เพราะในปัจจุบันส่วนใหญ่พื้นที่ส่วนมากใช้ในการปลูกอาคารบ้านเรือน
จึงเป็นเรื่องที่ดีถ้าจะมีสวนดอกไม้เล็กๆในขวดโหลอยู่ในบ้าน
ด้วยแนวคิดนี้จึงเป็นแรงจูงใจทำให้ผู้พัฒนาได้คิดค้นสวนดอกไม้ในขวดโหล
เพื่ออำนวยความต้องการของมนุษย์ โดยใช้ชื่อว่า “หิ่งห้อยในสวนคณิตศาสตร์”
ซึ่งจะตอบสนองต่อคนที่ต้องการท่องจำสูตรคณิตศาสตร์และต้องการความรู้สึกรีแลกซ์ในเวลาเดียวกัน
วัตถุดิบทำหิ่งห้อยในสวนคณิตศาสตร์ประกอบด้วย
-ขวดโหลพลาสติก
-สูตรคณิตศาสตร์
-พืช
-ดิน
-หิน
-สี
-หินเรืองแสง
-ลวด
-ของตกแต่ง
-เชือก
วัสดุอุปกรณ์ทำหิ่งห้อยในสวนคณิตศาสตร์
-กรรไกร (ใช้สำหรับตัดเชือก)
-พู่กัน (ใช้สำหรับแต้มสีทำหิ่งห้อย)
-คีม (ใช้สำหรับดัดลวด)
-ที่เจาะรู (ใช้สำหรับเจาะรูขวดโหลพลาสติก)
วิธีการทำหิ่งห้อยในสวนคณิตศาสตร์
1.นำขวดโหลพลาสติกที่เตรียมไว้มาเจาะรูให้ได้ขนาดที่เหมาะสม
2.นำเชือกมาสอดใส่รูที่เจาะไว้แล้วมัดเป็นปมให้แน่น
5.นำหินเรืองแสงมาใส่ในขวดโหลให้พอเหมาะ
ข้อควรระวัง
อย่าใช้ของมีคมโดยไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ใหญ่ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
จัดทำโดย
เด็กหญิง ธนัฎฐา แซ่ลิ้ม เลขที่ 29
เด็กหญิง ปภาภรณ์ วังวร เลขที่ 32
เด็ฏหญิง แพรวา สินทร เลขที่ 36
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น